ผ่านไปหนึ่งปีแล้ว สำหรับ “โครงการป่าเพื่ออนาคต” อันน่าจดจำ ที่ได้จัดขึ้นในประเทศไทย
ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้เสด็จพระราชดำเนินด้วย ในปี 2009
ซึ่งเป็นปีที่สองของโครงการนี้ พนักงานของฮิตาชิ กรุ๊ปและครอบครัวมากกว่า 100 คน ได้ร่วมกันปลูกต้นไม้ และรับรู้ถึงความสำคัญของการปลูกต้นไม้ทดแทน พนักงานคนหนึ่งของฮิตาชิ
กรุ๊ปที่ได้ร่วมปลูกต้นไม้ในอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร บรรยายถึงประสบการณ์อันน่าประทับใจว่า “ผมได้ปลูกต้นกล้าที่ผอม อ้อนแอ้นมากๆไว้บนผืนดินที่หยาบอย่างระมัดระวังและแน่นหนาเมื่อหนึ่งปีก่อน พอผมมาเห็นพวกมันปีนี้ ประทับใจจริงๆ ต้นกล้าพวกนั้นได้เติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่แล้ว ผมเชื่อว่าต้นไม้พวกนี้ปกป้องผืนดิน”

ฮิตาชิ กรุ๊ป จะจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมโลกและเพื่อช่วยทำให้สังคมยั่งยืนยิ่งขึ้นต่อไป

โครงการป่าเพื่ออนาคตในประเทศไทย

โครงการป่าเพื่ออนาคตที่ริเริ่มโดย มูลนิธิเพื่อสันติภาพและสิ่งแวดล้อมโลก เริ่มต้นขึ้นครั้งแรกในปี 2001 ด้วยการปลูกต้นไม้ทดแทนบนที่ราบสูง 3,800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลในประเทศทิเบต ด้วยการร่วมมือร่วมใจกับโครงการสภาวะแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) โครงการนี้ได้สนับสนุนให้องค์กรเอกชนที่ทำประโยชน์เพื่อสังคม (NGO) และรัฐบาลท้องถิ่นของหลากหลายประเทศ เข้าร่วมในการปลูกต้นไม้ทดแทน กิจกรรมต่างๆของโครงการ มีตั้งแต่โครงการที่เป็นแกนหลักในประเทศเคนย่า ซึ่งเป็นที่ที่สำนักงานใหญ่ของ UNEP ตั้งอยู่ ไปจนถึงการปลูกต้นไม้ทดแทนร่วมกัน ซึ่งจัดขึ้นโดยรัฐบาลท้องถิ่นของเมืองฟูคากาวา แห่งฮ็อคไกโด

ประเทศญี่ปุ่นและไทยได้ฉลองครบรอบ 120 ปี ของความสัมพันธ์ทางการฑูตเมื่อปี 2007 เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่สายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและสดใสระหว่างประเทศทั้งสอง ‘โครงการป่าเพื่ออนาคต – การรณรงค์ร้อยล้านต้นไม้ในประเทศไทย’ จึงได้เกิดขึ้น โดยมีมูลนิธิอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรและกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของไทยเป็นผู้ให้การสนับสนุน โครงการเริ่มต้นด้วยการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนและงานเลี้ยงต้อนรับในกรุงเทพฯเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2007 ตามด้วยพิธีปลูกต้นไม้อันน่าจดจำในเดือนกรกฎาคม 2008

การรณรงค์ร้อยล้านต้นไม้ในประเทศไทย 2009 : การประชุมถกเถียงเรื่องการปลุกต้นไม้

วันที่ 12 กันยายาน 2009
สถานที่ตั้ง อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร (ชะอำ จ.เพชรบุรี)
ผู้จัดงาน มูลนิธิเพื่อสันติภาพและสิ่งแวดล้อมโลก (FGPE),
โครงการสภาวะแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP),
มูลนิธิอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร, กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของไทย
ผู้สนับสนุนพิเศษ ฮิตาชิ จำกัด, บริษัทในกลุ่มฮิตาชิ กรุ๊ป
ในประเทศไทย และคาโอ คอร์ปอเรชั่น

“พวกเราหวังที่จะทำให้กิจกรรมการปลูกต้นไม้นี้ เป็นกิจกรรมที่ยึดถือชุมชนเป็นหลัก”

พื้นที่ทางบกของประเทศไทยมากกว่าครึ่ง เคยถูกปกคลุมไว้ด้วยป่าที่อุดมสมบูรณ์ แต่เป็นเพราะการทำลายป่าอันสืบเนื่องมาจากหลากหลายเหตุผล ซึ่งรวมถึงการพัฒนาการด้านอุตสาหกรรม พื้นที่ป่าลดลงเหลือน้อยกว่า 20% ของพื้นที่ทางบกทั้งหมด คนไทยทราบความจริงข้อนี้กันดี และรัฐบาลไทยผู้ซึ่งรับรู้ได้ถึงวิกฤต กำลังพยายามสร้างแรงบันดาลใจให้คนไทยด้วยการริเริ่มโครงการนี้

การรณรงค์พันล้านต้นไม้ในประเทศไทย จำเป็นต้องให้ยึดชุมชนเป็นหลักมากขึ้น หากเราจะโฆษณาประชาสัมพัธ์เกี่ยวกับกิจกรรมปลูกต้นไม้ในเมืองและใกล้เมือง มันจะเป็นโอกาสอันดีที่จะเพิ่มความระแวดระวังของคนไทยเรื่องความสำคัญของป่า พวกเราหวังให้ ฮิตาชิ กรุ๊ป เข้ามามีบทบาทสำคัญมากยิ่งๆขึ้นไปในการสนับสนุนการคิดพัฒนาการรณ-ณรงค์ต่างๆในอนาคต

น.ส. โทโมโกะ ยาโนะ
เลขาธิการใหญ่
มูลนิธิเพื่อสันติภาพและสิ่งแวดล้อมโลก (FGPE)